ทำความรู้จักเครื่องเจียระไน (Grinding Machine)

หลักการและการทำงานของเครื่องเจียระไนแต่ละชนิด

ทำความรู้จักเครื่องเจียระไน

การเจียรชิ้นงานเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมการผลิตที่มีความหลากหลายและได้รับความนิยมในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ขณะที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมนี้ มีเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มความแข็งแรงของผิวที่เกี่ยวข้องกับวิธีการเจียรชิ้นงานเอง มานำเสนอเรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเจียรชิ้นงาน และวิธีการเพิ่มความแข็งแรงของผิวด้วยการอบชุบแข็ง โดยไม่ต้องพึ่งเทคโนโลยีที่ใช้มานานแล้ว

เครื่องเจียระไนเป็นอีกเครื่องจักรที่วงการอุตสาหกรรมไทยขาดไม่ได้ เพราะเครื่องเจียรคือเครื่องที่ใช้ในการเก็บผิวชิ้นงานอย่างละเอียดเพื่อควบคุมขนาดของชิ้นงานให้แม่นยำถึงขนาด 1-5 ไมครอนและปรับความเรียบพื้นผิวของชิ้นงานโลหะ โดยเครื่องเจียระไน มีอยู่ด้วยกันหลายแบบเพื่อตอบสนองชิ้นงานประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเจียระไนราบ เจียระไนกลม เจียระไนโรตารี เป็นต้น

วันนี้เรามาทำความรู้จักของเครื่องเจียระไนแบบต่าง ๆ กันดังต่อไปนี้

ชนิดของเครื่องเจียระไน

การเจียระไนด้วยหินเจียระไนสามารถกระทำได้หลายแบบ โดยแบ่งประเภทของ เครื่องเจียระไนได้ตามลักษณะการใช้งานดังนี้

  1. เครื่องเจียระไนตั้งโต๊ะ (Bench Grinder) เป็นเครื่องมือกลขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ยึดติดกับโต๊ะโดยเฉพาะ จึงทำให้สะดวกในการใช้งานและสามารถมองเห็นชิ้นงานได้อย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้ลับคมอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดต่าง ๆ เช่น สว่าน มีด เคียว สิ่ว ใช้ขัดชิ้นงานที่มีขนาดเล็กหรือการขัดชิ้นงานผิวหยาบ และขัดเจียรวัสดุแข็งจำพวกเหล็ก ไม้ อลูมิเนียม และพลาสติก เป็นต้น ลักษณะตัวเครื่องจะมีมอเตอร์เป็นรูปทรงกระบอกอยู่แกนกลางโดยมีแกนเพลาอยู่ด้านข้างทั้งสองด้านเพื่อใช้ยึดจับใบเจียรซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งใบเจียรชนิดละเอียดและใบเจียรชนิดหยาบได้ มาพร้อมกับฐานรอง ขายึดกะบัง ฝาครอบล้อหินหินเจียรและอุปกรณ์เสริมอื่นอีกมากมาย จุดเด่นของเครื่องเจียรชนิดนี้จะให้กำลังความเร็วรอบสูง มีความแข็งแรงทนทาน และมีอายุการใช้งานที่นานกว่าเครื่องเจียรแบบใช้ไฟฟ้า จึงเหมาะนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมผลิตโลหะ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและเครื่องมือกล และใช้เป็นสื่อการเรียนในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาช่างยนต์ได้อีกด้วย

  2. เครื่องเจียระไนตั้งพื้น (Floor Grinder) เป็นเครื่องเจียระไนลับคมตัดที่มีขนาดใหญ่กว่าแบบตั้งโต๊ะ มีส่วนที่เป็นฐานเครื่องเพื่อใช้ยึดติดกับพื้นทำให้เครื่องเจียระไนมีความมั่งคง แข็งแรงกว่าเครื่องเจียระไนแบบตั้งพื้น

  3. เครื่องเจียระไนราบ หรือเครื่องเจียรราบ (Surface Grinder) เป็นหนึ่งในประเภทของเครื่องเจียระไนที่ใช้สำหรับลดขนาดงานในกระบวนการผลิตครั้งสุดท้ายหลังผ่านกระบวนการผลิต โดยการไสเพื่อขึ้นรูป หรืองานที่ผ่านการปรับปรุงคุณสมบัติด้วยความร้อนโดยการชุบแข็ง
    เครื่องเจียรราบ แบ่งการทำงานได้ 2 ลักษณะ คือ
    • เครื่องเจียรราบเพลาหมุนล้อหินเจียระไนแนวนอน เหมาะสำหรับปฏิบัติงานเจียระไนชิ้นงานที่มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม
    • เครื่องเจียรราบเพลาหมุนล้อหินเจียระไนแนวดิ่ง เหมาะสำหรับปฏิบัติงานเจียระไนพื้นผิวงานในแนวราบ

  4. เครื่องเจียระไนทรงกระบอก (Cylindrical Grinder) เป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการเจียระไนผิวงานทรงกระบอกขนานและงานทรงกระบอกเรียวที่มีความแม่นยำระดับสูงสุดในการผลิตชิ้นงานสำหรับอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ การปรับเนื้อหาและความรายละเอียดในการใช้เครื่องเจียระไนทรงกระบอกมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากความแม่นยำและคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะถูกพิจารณาอย่างรอบคอบในอุตสาหกรรม

  5. เครื่องเจียระไนลับมีดตัดและเครื่องมือ (Cutter And Tool Grinder) เป็นเครื่องมือกลพื้นฐานที่มีประโยชน์มาก สามารถทำงานได้หลายอย่าง ใช้สำหรับลับคมตัด ของเครื่องมือตัดต่าง ๆ อาทิเช่น มีดกลึง มีดไส ดอกสว่าน และสามารถเจียระไนเพื่อตกแต่งชิ้นงานเหล็กได้สะดวก

ส่วนประกอบหลัก ๆ ของเครื่องเจียระไนมีอะไรบ้าง

  1. มอเตอร์ (Motor) เป็นต้นกำลังขับล้อหินเจียระไนให้หมุนด้วยความเร็วรอบประมาณ 1500-2000 รอบต่อนาที โดยมีเพลาต่อออกมาทั้งสองข้างเพื่อยึดล้อหินเจียระไน

  2. ฝาครอบหินเจียระไน (Wheel Guard) เป็นฝาครอบล้อหินเจียระไนทั้งสองข้างเพื่อป้องกันอันตรายจากล้อหินเจียระไน ส่วนใหญ่จะทำด้วยเหล็กเหนียวขึ้นรูป

  3. ล้อหินเจียระไน (Grinding Wheel) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเจียระไนชิ้นงาน มีลักษณะเป็นวงล้อที่มีรูตรงกลางสำหรับสวมเข้ากับแกนของมอเตอร์ โดยมีเม็ดหินที่แข็งกว่าชิ้นงานอัดยึดติดกันด้วยตัวประสานหรือกาว ล้อหินเจียระไนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่
    • ล้อหินเจียระไนผิวเรียบ (Surface Grinding Wheel) ใช้สำหรับเจียระไนผิวชิ้นงานให้เรียบเนียน เหมาะสำหรับงานเจียระไนชิ้นงานโลหะ พลาสติก ไม้ และหิน
    • ล้อหินเจียระไนร่อง (Groove Grinding Wheel) ใช้สำหรับเจียระไนร่องบนชิ้นงาน เหมาะสำหรับงานเจียระไนร่องบนชิ้นงานโลหะ พลาสติก และไม้

  4. แท่นรองรับงาน (Tool Rest) ทำหน้าที่รองรับงานหรือเครื่องมือวัดและยังช่วยทำหน้าที่ประคองมือผู้ปฎิบัติงานด้วยส่วนใหญ่ ทำด้วยเหล็กหล่อขึ้นรูปหรือเหล็กเหนียว ควรตรวจสอบระยะห่างอยู่เสมอ ไม่เกิน 2-3 มม. ถ้ามีระยะห่างมากขึ้นงานอาจจะหลุดลงไปในช่องทำให้เกิดอันตรายได้

  5. สวิตช์เครื่อง (Switch) มีไว้เพื่อควบคุมเครื่องเปิด-ปิด

  6. ภาชนะใส่น้ำระบายความร้อน (Water Pot) นิยมใช้น้ำธรรมดา ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำหล่อเย็นเพราะจะทำให้ล้อหินเจียระไนทื่อเร็ว

  7. กระจกนิรภัย (Safety Glass) ติดตั้งไว้เพื่อป้องกันเศษโลหะกระเด็นเข้าตาในขณะลับเครื่องมือตัด

  8. ฐานเครื่อง (Base) อยู่ส่วนล่างสุดของเครื่องมีหน้าที่รองรับส่วนต่าง ๆ ของเครื่องทั้งหมด ทำจากเหล็กหล่อใช้ยึดติด กับพื้นหรือโต๊ะ

วันนี้เราได้รู้จักเครื่องเจียระไน (Grinding Machine) เป็นเครื่องมือกลชนิดหนึ่งที่ใช้ในการเจียระไนชิ้นงานให้เรียบหรือให้ได้รูปทรงที่ต้องการ โดยใช้ล้อหินเจียระไนที่มีคมตัดเป็นวัสดุแข็ง ทำการขัดสีวัสดุชิ้นงาน ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจหลักการและการใช้งานของเครื่องเจียระไนได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

หากมีใครที่สนใจในเครื่องเจียระไน ติดต่อ บริษัท อิดดะ แมชชีน ทูลส์ จำกัด เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย เครื่องจักรอุตสาหกรรม อาทิ เครื่องกลึง เครื่องกัด CNC เครื่อง CNC Milling เครื่องเจียระไน เครื่องเลื่อยสายพาน และเครื่องมืออื่น ๆ คุณภาพมาตรฐาน ISO 9001 พร้อมทีมช่างผู้เชี่ยวชาญและมั่นใจด้วยทีมงานบริการหลังการขาย

Visitors: 75,484